ทำไงดีเมื่อทารกน้ำหนักตัวน้อย

ทำไงดีเมื่อทารกน้ำหนักตัวน้อย

อาการ ทารกน้ำหนักตัวน้อย เป็นอาการที่คุณแม่นั้นไม่อยากให้เกิดขึ้นกับลูกของตัวเองหรอกใช่ไหมล่ะค่ะ แต่ก็เชื่อว่าคุณแม่มือใหม่หลายๆคนอาจจะเจอกับอาการแบบนี้กันมาบ้างแล้ว แต่ยังไม่รู้ว่าเกิดจากสาเหตุใด เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แล้วควรจะแก้ไขอย่างไรดี วันนี้เราจะมาพูดถึงหัวข้อนี้กันค่ะ อาการ ทารกน้ำหนักตัวน้อย มักจะเกิดขึ้นกับทารกแรกเกิด และสร้างความกังวลใจคุณแม่มือใหม่ได้ไม่น้อย โดยปกติแล้ว ทารกช่วงแรกเกิด จะมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวอยู่ที่ 2.8-3.2 กิโลกรัมค่ะ แต่ถ้าน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัมแล้วล่ะก็ จะถือว่าอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานค่ะ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทารกที่คลอดครบกำหนดหรือทารกที่คลอดก่อนกำหนดก็ได้ในช่วงขวบปีแรก คุณพ่อคุณแม่สามารถตรวจเช็คน้ำหนักลูกเองได้ค่ะ

7

เกณฑ์ที่เหมาะสมคือ เมื่ออายุ 4 เดือน น้ำหนักตัวจะต้องเป็น 2 เท่าของน้ำหนักแรกเกิดค่ะ และอายุ 1 ปีน้ำหนักตัวจะต้องเป็น 3 เท่าของน้ำหนักแรกเกิด และอายุ 2 ปีน้ำหนักตัวจะเป็น 4 เท่าของน้ำหนักแรกเกิดนั่นเองค่ะ ทารกช่วงแรกเกิดที่มีน้ำหนักตัวน้อยจำเป็นต้องเข้ารับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด โดยเข้าตู้อบค่ะ ซึ่งจะช่วยควบคุมรักษาระดับอุณหภูมิ ความชื้น รวมถึงออกซิเจนภายในร่างกายของทารก เพื่อรอจนกว่าทารกจะสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ดีขึ้น และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ปกตินั่นเองค่ะ

และเมื่อกลับไปอยู่บ้านแล้ว ทารกสามารถกินนมแม่ได้ตามปกติค่ะ ซึ่งลูกอาจตัวเล็กแต่ก็มีความแข็งแรงกว่าเด็กที่กินนมผสม เพราะได้ภูมิคุ้มที่ดีจากน้ำนมแม่ แต่หากมีอุปสรรคในการรับนมแม่แล้วล่ะก็ เด็กอาจต้องได้รับนมสูตรพิเศษที่มีความเข้มข้นกว่านมผสมทั่วไป ซึ่งต้องอยู่ในความดูแลของกุมารแพทย์ค่ะ ดังนั้นช่วงแรกเกิดถึง 6 เดือนแรก เด็กควรจะได้กินนมแม่เป็นหลัก เมื่อหลัง 6 เดือนไปแล้ว ควรได้รับอาหารเสริมคือข้าว ให้รับประทานวันละ 1 มื้อ เมื่ออายุ 8 เดือนให้ข้าว 2 มื้อ และเมื่ออายุ 10-12 เดือนให้รับประทานข้าวเป็นอาหารหลัก 3 มื้อค่ะ